โรคอ้วนส่งผลต่อระบบกล้ามเนื้อและกระดูกอย่างไร?

โรคอ้วนส่งผลต่อระบบกล้ามเนื้อและกระดูกอย่างไร?

โรคอ้วนมีความเกี่ยวข้องกับภาวะทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกในผู้ใหญ่หลายประการ ดังนั้นการลดน้ำหนักจึงมีความสำคัญในการปรับปรุงอาการ และการทำงานของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก. โปรดอ่านบทความด้านล่างเพื่อทำความเข้าใจว่าโรคอ้วนส่งผลต่อระบบกล้ามเนื้อและกระดูกอย่างไร. 1. น้ำหนักเกินและโรคอ้วนส่งผลต่อระบบโครงกระดูกอย่างไร? โรคอ้วนเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงตามมา, ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อภาระโรคเรื้อรังมากมาย. เมื่ออัตราโรคอ้วนเพิ่มขึ้น, ภาระทางสังคม ในด้านความพิการ, คุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ และค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน, มีหลักฐานที่แสดงถึงความเกี่ยวข้องของโรคอ้วนกับโรคร่วมหลายอย่าง เช่น: ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, ภาวะไขมันผิดปกติ, โรคหลอดเลือดหัวใจ, โรคหยุดหายใจขณะหลับ, ประจำเดือนมาไม่ปกติ และมะเร็งบางชนิด. นอกจากนี้, การมีน้ำหนักเกินและโรคอ้วน ยังสัมพันธ์กับอาการปวดศีรษะซ้ำๆ และเรื้อรังทั้งในวัยรุ่นและผู้ใหญ่. ดัชนีมวลกาย (BMI) ที่เพิ่มขึ้นได้รับการระบุว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงสำหรับการพัฒนาอาการ, ของความผิดปกติของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ (MSDs). รายงานความชุกของโรคข้อเข่าเสื่อมและอาการปวดหลังส่วนล่าง ในคนอ้วนอยู่ที่ 34% และ 22% ตามลำดับ. ภาระโรคอ้วนทั่วโลกกำลังเพิ่มขึ้นในอัตราที่น่าตกใจ. โรคอ้วนมีความเกี่ยวข้องกับภาวะทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกในผู้ใหญ่หลายประการ. การลดน้ำหนักเป็นสิ่งสำคัญในการปรับปรุงอาการและการทำงานของโรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูก. ขณะเดียวกัน, ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากการเข้าสู่วัยสูงอายุ, ภาระของโรคข้ออักเสบและโรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูก ที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดและพิการยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง. ในการวิเคราะห์ต้นทุนการรักษาโรคอ้วน, พบว่าต้นทุนของโรคข้อเข่าเสื่อมเป็นอันดับสองรองจากต้นทุนโรคเบาหวานในภาวะที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วน. ระหว่างความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกและความรุนแรงของโรคอ้วนมีความเกี่ยวพันธ์กัน, ศูนย์ควบคุมโรครายงานเมื่อเร็วๆ นี้ว่าในสหรัฐอเมริกา, ผู้ใหญ่ที่เป็นโรคอ้วนมากกว่า 31% ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคข้ออักเสบ เทียบกับเพียง 16% ของผู้ที่ไม่เป็นโรคอ้วน. […]

อาการบ่งชี้โรคข้อเข่าเสื่อม พร้อมวิธีรักษาและป้องกัน

หลาย ๆ คนอาจจะเคยได้ยิน หรือรู้จักกับ “โรคข้อเข่าเสื่อม” เป็นอย่างดี เพราะว่าเป็นโรคที่มักพบในกลุ่มผู้สูงอายุ หรือกลุ่มคุณปู่-คุณย่า และคุณตา-คุณยาย โดยที่ลูกหลานอาจจะได้ยินพวกท่านบ่นบ่อย ๆ ว่าปวดเข่า ปวดขา หรือเดินไม่ไหว แต่รู้หรือไม่? อาการของโรคข้อเข่าเสื่อมที่พบได้บ่อย คือ อาการปวดข้อเข่า ที่สามารถส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ดังนั้น ในบทความนี้จึงจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับโรคข้อเข่าเสื่อม และวิธีรักษา ที่จะช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของข้อเข่า และป้องกันไม่ให้ข้อเข่าสึกหรอไปมากกว่าเดิม เพื่อให้ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมทุกคนได้ขยับร่างกาย และเคลื่อนไหวในการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขมากที่สุด โรคข้อเข่าเสื่อม คืออะไร? โรคข้อเข่าเสื่อม (OA: Knee Osteoarthritis) คือ โรคที่เกิดจากการเสื่อมสภาพ และการสึกหรอของผิวกระดูกอ่อนที่ข้อเข่าตามช่วงอายุ หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น น้ำหนักตัวเกินกว่าเกณฑ์, ใช้งานข้อเข่าอย่างหนัก, เคยประสบอุบัติเหตุ หรือมีโรคประจำตัว เป็นต้น โดยอาการของข้อเสื่อมที่สามารถพบในผู้ป่วยส่วนใหญ่ คือ อาการปวดข้อเข่า ซึ่งอาการปวดนั้นสามารถส่งผลให้เกิดการอักเสบภายในข้อเข่าได้ ถ้าหากไม่ทำการรักษาอาจเพิ่มระดับความรุนแรงของโรค และความเสียหายของข้อเข่าได้ ดังนั้น หากมีความผิดปกติที่ข้อเข่า จึงควรปรึกษาแพทย์และเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันไม่ให้อาการรุนแรงมากขึ้น และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม โรคข้อเข่าเสื่อมนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุที่ทำให้ผิวกระดูกอ่อนที่ข้อเข่าเสื่อมลงและสึกหรอ […]

กินอะไรให้ข้อเข่าแข็งแรง ลดอาการลดเสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อม

กินอะไรให้ข้อเข่าแข็งแรง ลดอาการลดเสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อม

ผู้ที่เป็น ‘โรคข้อเข่าเสื่อม’ หรือมีอาการปวดหัวเข่าจากสาเหตุอื่นๆ การมีน้ำหนักตัวที่มากเกินไปจะยิ่งทำให้อาการลุกลามหรือหายช้า จึงควรปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ควบคุมน้ำหนัก และการปรับการกินอาหาร แม้ว่าอาหารที่กินนั้นจะไม่ได้ช่วยในการรักษาโรคโดยตรง แต่หากผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่เหมาะสมก็จะลดปัญหาเรื่องน้ำหนักตัว และลดโอกาสการเกิดการอักเสบ อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างข้อกระดูกรวมถึงกล้ามเนื้อให้แข็งแรงได้อีกทางหนึ่ง อาหารที่ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมควรรับประทาน   อาหารมีกรดไขมันโอเมก้า-3 สูง โดยเฉพาะอาหารทะเล เช่น ปลาทะเล ปลาแซลมอน หรือแม้แต่ปลาน้ำจืดประเภทปลาเนื้อขาว จะช่วยบำรุงข้อต่อกระดูกให้แข็งแรง และลดอาการปวดหรืออักเสบในผู้ป่วยที่มีข้อเข่าอักเสบ และลดอาการติดแข็งบริเวณข้อต่างๆ อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระหรือเบต้าแคโรทีนสูง โดยเฉพาะผักต่างๆ อย่างใบยอ ยอดแค ผักโขม ผักคะน้า บรอกโคลี ผักกระเฉด ถั่วงอก อีกทั้งยังควรกินผักให้หลากสี เช่น มะเขือเทศสีแดง แครอทสีส้ม กะหล่ำปลีสีม่วง ข้าวโพดและฟักทองสีเหลือง เพราะจะได้วิตามินที่หลากหลาย โดยเฉพาะผักใบเขียวต่างๆ จะมีวิตามินเคที่มีส่วนช่วยในการบำรุงกระดูกค่อนข้างสูง อาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น อัลมอนด์อบ งาดำ นมและผลิตภัณฑ์จากนม ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น น้ำเต้าหู้ เต้าหู้หลอด แม้แต่การกินปลาตัวเล็กตัวน้อยก็จะช่วยเพิ่มแคลเซียมให้กระดูกแข็งแรง ทั้งนี้ควรจะกินอาหารที่มีวิตามินดีสูง จำพวก นม ไข่ ปลาซาดีน ควบคู่กันไปได้ด้วย เพราะวิตามินดีจะช่วยเรื่องการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้น อาหารที่อุดมด้วยวิตามินซี โดยเฉพาะผลไม้ต่างๆ […]

6 สัญญาณเตือน อาการข้อเข่าเสื่อม

6 สัญญาณเตือน อาการข้อเข่าเสื่อม

ข้อเข่าเสื่อมมักพบในคนที่มีอายุเฉลี่ยตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เนื่องจากปัจจัยด้านฮอร์โมน แต่ปัจจุบันพบโรคข้อเข่าเสื่อมในคนที่อายุน้อยลง ซึ่งคนกลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยได้ ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมจะมีอาการปวดในข้อเข่า ข้อเข่าติดหรือฝืดตึง มีเสียงดังในข้อเข่า มีจุดกดเจ็บบริเวณเข่า ข้อเข่าบวมผิดรูป ซึ่งในแต่ละคนอาการอาจจะแตกต่างกันไป การรักษา อาการข้อเข่าเสื่อม มีหลายวิธีซึ่งแพทย์จะประเมินระดับความรุนแรงของโรค แนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด โดยจะพิจารณาการรักษาแตกต่างกันเป็นรายบุคคล เช่น แนะนำการออกกำลังกาย การฉีดน้ำเลี้ยงข้อเช่า การใช้ยา การทำกายภาพบำบัด หรือการผ่าตัด โรคข้อเข่าเสื่อมนั้นเป็นรูปแบบของ “โรคข้ออักเสบ” ที่พบบ่อยมากที่สุด เนื่องจากข้อเข่าเป็นข้อต่อที่มีการใช้งานเยอะ และรองรับน้ำหนักของร่างกายโดยตรง โรคข้อเข่าเสื่อมเกิดจากภาวะที่กระดูกอ่อนผิวข้อเข่าเกิดอาการสึกหรอ ฉีกขาด และเสื่อมสภาพตามช่วงอายุและปัจจัยหลายๆ ด้าน เมื่อกระดูกอ่อนผิวข้อมีการสึกหรอมากขึ้น จึงก่อให้เกิดอาการปวดเข่าขึ้น และยังไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบในข้อเข่าอีกด้วย ซึ่งหากปล่อยให้มีอาการรุนแรง ผิวข้อมีความเสียหายมากขึ้นเรื่อยๆ กระดูกข้อเข่าจะเสียดสีกันมากขึ้น ผู้ป่วยจะเจ็บในทุกจังหวะของการก้าวเดิน อีกทั้งข้อเข่าจะมีอาการติดแข็ง งอเหยียดได้ไม่สุด จึงส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเป็น “โรคข้อเข่าเสื่อม” โดยมากแล้ว จะพบผู้ป่วยที่มีข้อเข่าเสื่อมที่อายุเฉลี่ยตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป โดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เนื่องจากปัจจัยด้านฮอร์โมน กระดูก กล้ามเนื้อ ทั้งนี้ ปัจจุบันยังพบโรคข้อเข่าเสื่อมในคนที่อายุน้อยลงอีกด้วย […]